วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม่หวั่นแม้วัน(น้ำ)ท่วมมาก

  ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2554 ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และความหนาวเหน็บ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก นับว่าสาหัสสากรรจ์เกินบรรยาย ทำให้พี่น้องเกือบทุกภูมิภาคโลก ได้รับผลกระทบกระเทือนกันไปหมด ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ ต่างเสียหายย่อยยับไปตามๆกัน ซึ่งประเทศไทยก็หนีไม่พ้นภัยพิบัติครั้งนี้ด้วย   เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพ เกษตรเกี่ยวกับ ข้าว ผัก ผลไม้ ฯลฯ ไม่สามารถมีผลผลิตให้ประชาชน ได้อุปโภค บริโภค ตามปกติ และถนนหนทาง ไม่สามารถสัญจรได้ เหตุจากน้ำท่วนหนัก  ทำให้การ รับ ส่ง การผลิตสินค้าภาคอุตสาหกรรม ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เช่นเดิม จนประชาชนเกิดภาวะขาดแคลนสิ้นค้าใช้สอยภายในประเทศ ยังไม่รวมคนงาน ในโรงงานหลายแสนคนก็ต้องหยุดงาน ขาดรายได้ตามไปด้วยอีก เมื่อภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรมไม่เหมือนเดิม ย่อมส่งผลกระทบโดยตรง ต่อภาคเศรษฐกิจภายในประเทศ ต้องหยุดชะงักลงไป สร้างความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท เหตุการณ์ที่่ได้รับผลกระทบต่อๆกันนี้ช่างเหมือนกับโดมิโน่ ที่ตัวใดตัวหนึ่งล้มลง ตัวที่เหลือ ส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ ย่อมล้มลงตามไป

..ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ทำให้ย้อนนึกถึงการกระทำของมนุษย์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นพวกที่เห็นแก่ตัว บุกรุกตัดไม้ทำลายป่า เพื่อสร้างความร่ำรวยให้เพียงไม่กี่คน โรงงานผลิตสินค้าต่างๆก็ไม่น้อยหน้า อาศัยกฏหมายสิ่งแวดล้อม ที่อ่อนแอ ไม่เข้มงวด ทิ้งน้ำเสียลงในแม่น้ำ ลำคลอง  ปล่อยอากาศเสียขึ้นสู่ท้องฟ้า จนเกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกเราร้อนขึ้นกว่าเดิม ฯลฯ ทั่วโลกส่วนมากไม่มีการบำบัดธรรมชาติบ้างเลย อาทิ การปลูกฝังให้คน รัก หวงแหวน ปกป้องธรรมชาติที่ตนได้อาศัยอยู่ โดยการช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มเติมทดแทนของเก่าที่ถูกตัด  รักษาต้นน้ำ ลำธาร  การไม่ทิ้งกากของเสีย สารเคมีลงในแม่น้ำลำคลอง ดิน อากาศ ไม่นำทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด อย่างเช่น พวก ถ่านหิน แร่ธาตุ น้ำมัน มาใช้เกินความจำเป็น อีกหลายๆอย่างที่เราสามารถช่วยธรรมชาติได้ แต่เราไม่เคย เลยที่จะทำ รึทำก็น้อยเกินไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ธรรมชาติ เลยเอาคืนบ้าง เราเลยต้องมารับผลที่เราทำกันในอดีต ต้องซอกช้ำระกำใจกันไปตามๆกัน


มีอารมณ์เล่นมาก






 
 ..ไม่เป็นไร ถึงแม้ว่าในอดีตเราเคยทำลายธรรมชาติไปเยอะ แต่ต่อนี้ไป ให้พวกเรา ทั่วโลก หันมาใส่ใจกับธรรมชาติ ช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ อย่างจริงๆจังๆ เชื่อได้เลยว่า เมื่อเราต่างร่วมมือกัน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทุกรูปแแบบ อย่างเช่น เพิ่มบทลงโทษพวกทำลายธรรมชาติให้หนักกว่าเดิมปลูกจิตสำนึกรักธรรมชาติให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เขารู้สึกว่าเมื่อธรรมชาติของพวกเขา     ถูกทำลายลงแล้วเกิดผลเสียต่อโลกเราอย่างไรบ้าง จนเขาเกิดความเข้าใจ เกิดเป็นความรักธรรมชาตขึ้นมา รวมกลุ่มกันสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ อย่างเช่น การรวมกลุ่มกันปลูกป่าทดแทน ป่าไม้เดิมที่ถูกทำลาย เป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ เมื่อพบการตัดไม้ทำลายป่า ก็แจ้งเจ้าหน้าที่จัดการได้ทันที การทำกิจกรรมอนุรักษ์น้ำ ช่วยเก็บขยะจากแม่น้ำลำคลอง ฯลฯ เชื่อได้ว่าเมื่อ เรามีเหตุที่ดี คือ ไม่ทำลายธรรมชาติจนยากแก่การเยียวยาแล้ว ช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติกว่าเดิม ผลที่มวลมนุษย์จะได้รับจากธรรมชาติ นั่นคือ ธรรมชาติคงไม่ใจร้าย ไม่พิโรธทำให้เราได้เดือดร้อน น้ำตาตก เหมือนทุกวันนี้แน่นอน

เมื่อเกิดภัยน้ำท่วมแล้ว ถ้าเรามั่วแต่เสียใจ ท้อใจ ก็ยิ่งทำให้เหตการณ์แย่ลงไปกว่าเดิมอีก เพราะฉะนั้นเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับ นวตกรรมสู้ภัยน้ำท่วมกันเหอะ  เพื่อประโยชน์ต่อเราๆท่านๆที่กำลังประสพภัยน้ำท่วมในขณะนี้กัน....เลย  

1..อาหารจานด่วน
   วิธีหุงข้าวให้กินได้นานโดยไม่บูด พวกอาหารสำเร็จรูปจำพวก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร   ปลากระป๋อง เมื่อเราจะทานต้องทำให้สุกก่อน ทานอาหารพวก บะหมี่แล้วรู้สึกไม่อิ่มท้อง อยากจะทานข้าวขึ้นมา เอาละซิ เพลานี้น้ำท่วมซะด้วยไม่สะดวกเหมือนเดิม ทำไงดี ไม่เป็นไรเรามีวิธีหุงข้าวแบบเก็บไว้ได้นานเลย มาลองดูวิธีทำกัน ..ข้าวสวยบรรจุกระป๋องแถมยังมีราคาแพงและน้อยอีกต่างหาก ไม่เป็นไร ถ้าเรามีข้าวสารอยู่แล้ว เเวลาหุงข้าวสวย ให้ใส่น้ำส้มสายชูลงไปด้วย ซึ่งข้าวสาร 3 กระป๋อง ใช้น้ำส้มสายชูประมาณ 1 ช้อนชา ซึ่งจริงๆก็กะเอาไม่ได้ตวง --' ข้าวสวยที่หุงโดยการเติมน้ำส้มสายชูลงไป สามารถอยู่ได้โดยไม่บูดหลายวัน เคยหุงแล้วตักมาทาน แล้วปิดฝาทิ้งไว้ ลืมไป 4 วัน มาเปิดหม้อดูอีกที ก็ไม่บูด ไม่แฉะด้วย ทดลองหุงแล้วตักมาทาน แล้วปล่อยทิ้งไว้คาหม้อ 4-5 วัน มาไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งแล้วค่ะ เพื่อพิสูจน์ว่ามันจะไม่บูดจริงๆ โดยเปิดฝาดูทุกวัน ข้าวที่หุงทิ้งไว้ 4-5วัน เราก็เอามาทานจริงๆ ไม่มีกลิ่นบูด ไม่แฉะ พอดีไปเจอมาในเมลล์ อาจจะเป้นประโยชน์สำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ยังไงก็ขอเอาใจช่วยผู้ประสบภัยทุกท่าน

2..เสื้อชูชีพ
   อุทกภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัด ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งที่อยู่อาศัย ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค สูญเสียทั้งทรัพย์สินเงินทอง รวมถึงมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 300 คน ซึ่งในที่นี้สาเหตุหนึ่งจากการจมน้ำเสียชีวิต พระเอกที่จะมาช่วยเรื่องการจมน้ำเสียชีวิตนี้ก็คือ   ''เสื้อชูชีพ''
  ได้รับแรงบันดาลใจจาก ''นางวัจนี วรัญญู และ นายวิญญู วรัญญู สองแม่ลูก เจ้าของที่นอนจารุภัณฑ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี'' ซึ่งปิ้งไอเดียการทำเสื้อชูชีพจากวัสดุซึ่งมีอยู่ในต่างจังหวัดมากมาย นั่นคือ ..นุ่น'' นั่นเอง เพราะนุ่นมีคุณสมบัติพิเศษสามารถลอยน้ำได้ดีโดยไม่เปียก วิธีการทำไม่ยุ่งยาก รวดเร็ว สะดวก ด้วย แถมยังราคาถูกมาก เมื่อนำมาทำเสื้อชูชีพนุ่นซึ่งจะใช้นุ่นแค่ครึ่งกิโลกรัม ราคาประมาณ 60 บาทเท่านั้นถ้าเทียบกับเสื้อชูชีพที่ใช้กันอยู่ถือว่าถูกมาก และเมื่อหลังเลิกใช้งานก็ยังสามารถนำเอานุ่นกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำหมอน และที่นอนต่อได้เป็นอย่างดีอีกด้วยโดยไม่สูญเปล่าไปอีกต่างหาก ถือว่า คุ้มมมม ค่ามาก ซึ่งถูกใจคนที่ต้องการวัสดุที่ราคาถูกแถมยังพกพาความสามารถมาเต็มพิกัดอีก ^^
ซึ่งน้ำหนักนุ่นเพียง 4-5 ขีด ก็สามารถพยุงน้ำหนักตัวผู้ประสบภัยได้ถึง 80 - 100 กิโลกรัมได้อย่างสบาย วิธีทำ ...จัดการยัดนุ่นลงในถุงพลาสติกใบใหญ่ๆหน่อย เสร็จแล้วมัดปากถุงให้เรียบร้อย ถ้าจะให้ดี สะดวก ควรใช้เป้สะพายของนักเรียนเมื่อได้เป้มาแล้ว ก็แค่ยัดนุนลงในเป้ซะ เสร็จแล้วจัดการปิดซิบกันน้ำเข้าให้เรียบร้อย แค่นี้เองก็จะได้เป้ชูชีพไว้ใช้งานแล้ว .. ( ง่ายจัง ) ส่วนการใชเป้สะพาย ควรจะสะพายเป้ไว้ด้านหน้าจะช่วยพยุงตัวได้ดีกว่าด้านหลัง

3..ส้วมปลดทุกข์
   น้ำท่วมซะขนาดนี้ ระดับหน้าอก เฮ้..เศร้า T-T จะระบายทุกข์หนัก ? จะอะไรซะอีกนอกจาก... ใช่แล้วการจะ อึ ฉี่ ในยามที่น้ำท่วมเนี่ย แสนสาหัสเหลือเกิน มาลองดูวิธีการทำ ส้วมแบบจำเป็นกันเหอะ

"สุขากระดาษ" เป็นนวัตกรรมที่ ออกแบบและผลิตโดย "เอสซีจี เปเปอร์" ในเครือเอสซีจี ใครคิดผลิตก็ช่างเหอะ ถ้าเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในยามที่เกิดเหตการณ์น่ำท่วมแบบนี้ ก็ต้องลองทำมาใช้ดูแล้ววว ซึ่งสุขากระดาษนี้ผลิตจากกล่องกระดาษลูกฟูก มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ โดยก่อนใช้สุขากระดาษจะถูกทำให้เป็นกระดาษลูกฟูกแบนราบ บรรจุอยู่ในถุงพลาสติก พร้อมชุดถุงดำ (ใช้บรรจุ สิ่งปฏิกูล) และกระดาษชำระ เมื่อต้อง การใช้งานก็สามารถนำมาประกอบ ขึ้นรูปตามคู่มือคำอธิบายที่บรรจุไว้ภายใน สามารถใช้ขับถ่ายได้ทั้งหนัก-เบา

ขั้นตอนการประกอบสุขากระดาษ ก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลา 5 วินาทีก็เสร็จคือ

1) ประกอบกระดาษเป็นโถสุขา มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมและมีรู ตรงกลางไว้นั่งขับถ่าย

2) นำถุงดำบรรจุลงมาในรูปตรงกลางเพื่อรองรับสิ่งปฏิกูล เมื่อ ขับถ่ายเสร็จก็มัดปากถุงให้แน่นเพื่อรอนำไปกำจัดเมื่อน้ำลด และเพื่อยืดอายุการใช้งานสุขากระดาษควรนำถุงดำมาหุ้มไว้ด้านล่างด้วย

ส่วนเรื่องความแข็งแรงไม่ต้องเป็น ห่วง เพราะทดสอบแล้วว่ารับน้ำหนัก คนนั่ง 200 กิโลกรัมได้สบาย ๆ

กล่องกระดาษขนาดใบใหญ รึจะเป็นถังน้ำ สี่เหลี่ยมพลาสติก ก็สามารถนำมาใช้แทนได้ ขอให้มีถุงดำก็แล้วกัน น่าจะหาได้ไม่ยาก









 

















มาดูวิธีดูแลสุขภาพช่วงน้ำท่วม 10 ประการ กันเถอะ
  
1. หมั่นดูแลความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะเท้า ซึ่งต้องล้างด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง หลังการเดินลุยน้ำ และล้างมือบ่อยๆ หรือใช้เจลล้างมือแทน 

2. กรณีต้องเดินลุยน้ำ ควรใส่รองเท้าบูท และทายาป้องกันน้ำกัดเท้าทุกครั้งก่อนลงน้ำ และมีไม้ตีน้ำเป็นระยะเพื่อไล่สัตว์มีพิษที่อาจอยู่บริเวณที่เดิน 

3. ระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าตา เพื่อป้องกันโรคตาแดง

4. การดูแลภาชนะใส่อาหารและช้อนส้อมให้สะอาดป้องกันโรคทางเดินอาหาร

5. เลือกรับประทานอาหาร ถ้ามีกลิ่นไม่ดี ใกล้บูด ไม่ควรรับประทาน

6. ระวังบุตรหลานไม่ให้เล่นน้ำ หรืออยู่ใกล้น้ำ

7. กรณีเจ็บป่วย เช่น เป็นหวัด ตาแดง ควรเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น เพื่อป้องกันการติดต่อ ล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากากอนามัย 


8. ป้องกันกรณีไฟฟ้ารั่วและไฟชอร์ต ถ้ามีน้ำท่วมถึงปลั๊กไฟต้องตัดสะพานไฟทุกครั้ง 

9. ใช้ถุงทรายอุดปิดโถส้วมป้องกันการไหลย้อน ใช้สุขาชั้น 2 หรือใช้ถุงดำเป็นส้วมสนาม แล้วมัดปิดเก็บไว้กำจัดภายหลังน้ำลด อาจใส่ปูนขาว หรือ EM ก่อน 

10. ฝึกการคลายเครียดด้วยตนเอง เช่น การพูดระบายความเครียด ฟังเพลงคลายเครียด ฝึกการหายใจคลายเครียด เป็นต้น 

*ท้ายสุด 
    ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว เชื่อได้เลยว่าหลายๆท่านคงได้ยินคำนี้บ่อย คนเราถ้ามีจิตใจที่เข้มแข็ง ร่างกายก็ดูจะเข้มแข็งไปด้วย แต่ยามที่จิตใจเราอ่อนแอ ร่างกายเราก็อ่อนแอไปด้วย เขาบอกว่าการชนะใจตนเองเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ใจคิดสั่ง ส่วนร่างกายรับสนอง ยามเมื่อเราประสบภัยอันตรายใดๆแล้วเรา มีใจที่ประกอบด้วย สติ ปัญญา ไม่ท้อถอยต่อปัญหา เชื่อได้เลยว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงสำเร็จลงได้ด้วยดี แม้ว่าปัญหานั้นจะร้ายแรงแค่ไหน ทุกๆปัญหาย่อมมีทางออกให้เสมอ ขอเพียงเรามี สติ และปัญญา ย่อมเจอทางออกของปํญหานั้นแน่นอน ขอเพียง มีใจที่ไม่ท้อ เมื่อเจอปัญหาเท่านั้น   ขอฝากคำคมของท่าน ว.วชิรเมธี
เพื่อสะกิดใจให้ทุกๆ สู้กับปัญหาต่างๆในโลกใบนี้....อย่างทรนง องอาจ

รถทุกคันล้วนมีเบรกรถทุกคันล้วนมีท่อไอเสียคนทุกคนต้องมีเบรกคือสติต้องมีท่อไอเสียคือการปล่อยวาง
ดาบที่ดีต้องมีฝัก ความสามารถที่ดีต้องมีจริยธรรม
รอยเท้าแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์ไม่ใช่รอยเท้าของมนุษย์ แต่เป็นรอยเท้าแห่งจินตนาการ
คนขุดบ่อน้ำก็ลงต่ำอยู่ในดิน คนก่อกำแพงก็ขึ้นสูงตามกำแพงที่ก่อ ฉันนี้ฉันใดคนทั้งหลายก้เป็นเช่นนั้น จะสูงจะต่ำขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
บิล เกตต์ เรียนไม่จบแต่พบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นคนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญญาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยแต่อยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้
ที่สุดของความรักคือรักโดยไม่ครอบครอง ที่สุดของการให้คือให้โดยไม่หวังผล ที่สุดของทานคืออภัยทาน ที่สุดของคนคือการเป็นคนธรรมดาที่มีความสุข 

(ความทุกข์ไม่เคยยึดติดเรา มีแต่เราต่างหากที่ยึดติดความทุกข์ ความสุขไม่เคยไปจากใจเรา มีแต่เราต่างหากที่ไม่เคยถนอมมันไว้ในใจของเรา)


  





















''การวิ่งแสวหาความสุขมาปรนเปรอจิตใจนั้นจะหาเท่าไรก็หาไม่เจอ เพราะมั่วแต่วิ่งแสวงหาความสุข-ข้างนอก โดยลืมนึกไปว่าความสุขแท้ที่จริงนั้น มันอยู่ที่จิตตน นั่นเอง ความสุขแค่เอื้อมนั้นยังไกล ความสุขที่ใจ ไม่ต้องเอื้อม คว้าได้เลย ท่าน '' 
 

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลส่วนตัว



ชื่อจริง    น.ส. ลฎาภา นามสกุล ศรีสุวรรณ
ชื่อเล่น    หนิง
อายุ       15
ส่วนสูง   171
กรุ๊ปเลือด  บี
วันเกิด     เกิด 3 มกราคม 2539

ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่  ม.4 ห้อง 7   สายศิลป์ ฝรั่งเศส    ร.ร. เบญจมราชาลัยฯ







นิสัย      นิ่งๆเงียบๆ พูดมาก ไร้สาระ
เวลาว่าง  เล่นเฟส ออนเอ็ม ฟังเพลง อ่านหนังสือ(มั่ง)

สีที่ชอบ    สีส้ม แดง ดำ
กีฬาโปรด  วอลเลย์บอล
หนังที่ชอบ แนวคอมมาดี้
สัตว์ที่ชอบ  >> แมว
อาหารโปรด  เมนูประจำ  กะเพราหมูกรอบไข่ดาว สุดๆ
ความสามารถพิเศษ คุยได้ทั้งวัน ร้องเสียงแมว

อาชีพที่อยากเป็น นักการทูต สถาปนิก
คติประจำใจ      กัมมุนา วัตตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

http://www.youtube.com/watch?v=cEsDOMbJqwM&feature=related 

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information system)
  ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

  ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

  ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)

  ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
Laudon & Laudon (2001) ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations) การจัดการ (management) และเทคโนโลยี (Technology)


ประเภทของระบบสารสนเทศ

  ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป    
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

 
ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)

1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด


สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้ ดังนี้

1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)
เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น

2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)
เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์


3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS)
เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น


4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS)
เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ


5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS)
เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์


6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS)
เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์

   ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล

   สุชาดา กีระนันทน์ (2541) สรุปไว้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรนั้นเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างมาก การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่ หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร



เอกสารอ้างอิง

สุชาดา กีระนันทน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems. (n.d.). Essential Concepts and Terminology – Study Unit 13. Information system. Retrieved September 8, 2005
from   http://www.jqjacobs.net/edu/cis105/concepts/CIS105_concepts_13.html





 

การทำงานของคอมพิวเตอร์

แม้คอมพิวเตอร์ดูเหมือนว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงไรแต่เราสามารถแบ่งการทำงานของเครื่องได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. รับข้อมูล (Input) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไปในเครื่องโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น คีบอร์ด เมาส์ จอยสติ๊ก เป็นต้น
2. ประมวลผล จะทำการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ โดยหน่วยประมวลผลที่มีชื่อเรียกว่า ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)นั้นเปรียบได้เหมือนป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสมรรถนะของเครื่องจะขึ้นกับความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผล สำหรับชุดคำสั่งที่ป้อนให้หน่วยประมวลผลนั้นเรียกว่าโปรแกรม ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่บางอย่างเฉพาะเจาะจง
 3. แสดงผล เป็นส่วนที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ จอภาพ (แสดงภาพหรือข้อความ)
ลำโพง(ส่งเสียง) เป็นต้น

นอกจากการทำงานของเครื่อง 3 ขั้นตอน ยังมีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ หน่วยความจำ (Memory) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมี
หน่วยความจำสำหรับพักข้อมูลที่ต้องนำมาใช้ในการประมวลผล โดยรูปแบบการเก็บข้อมูลในเครื่องนั้นมีหน่วยเป็นบิต ที่มีค่าได้เพียง 2 ค่าคือ
0 หรือ 1 เท่านั้น เมื่อเรานำข้อมูลมาเรียงต่อกันหลายบิต ก็จะทำให้เราสามารถแทนค่าได้มากขึ้น โดยข้อมูลที่มีขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกว่า ไบต์
เราใช้หน่วยไบต์ในการวัดขนาดของหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรามักได้ยินคำ เช่น กิโลไบต์ ,เมกะไบต์และกิกะไบต์
เราสามารถแสดงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นผังแบบง่ายๆได้ดังรูป










หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ 

กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า การประมวลผล แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์
สรุป การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) 
3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) 
4.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) 
5.หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
 
 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)  คือ
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
 อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่
 





หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) Central Processing Unit
หน่วยเก็บที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญที่สุดเปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยต่างๆ ให้ทำงานประสานสอดคล้องกัน หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนโดยประกอบรวมกันอยู่บนชิปเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ส่วนต่างๆ เหล่านี้ได้แก่
1. หน่วยเรจิสเตอร์ (Register) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งจากหน่วยความจำหลักและข้อมูลที่จะนำไปใช้ประมวลผล
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit : ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ
3. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ส่วนรับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง และส่วนแสดงผล ให้ทำงานสอดคล้องกัน
ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)
คือ อุปกรณ์สำหรับติดตั้ง CPU ซึ่งแตกต่างกันไปตามรุ่นหรือยี่ห้อ สำหรับรุ่นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 5 แบบ
1. Socket 478
2. LGA 775
3. Socket A (462)
4. Socket 754 

5. Socket 939  

 



 

เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard) 
คือ แผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ หรือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่นไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD, CD-ROM , FDD VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน
สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลัก พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้
ในบางประเทศ โดยเฉพาะในโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นิยมใช้ศัพท์แสลงเรียกเมนบอร์ดว่า mobo (โมโบ) โดยเป็นคำย่อจากmotherboard




หน่วยความจำ (Memory) มีอยู่สองส่วนคือ
หน่วยความจำหลัก (Main Memory)  เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 
1 Read-Only Memory (ROM) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (รอม) 

รอม คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป
แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM

ชนิดของROM
Manual ROM
ROM (READ-ONLY MEMORY)
ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้
โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS

PROM (Programmable ROM)
PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
EPROM (Erasable Programmable ROM)
EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่
EAROM (Electrically Alterable ROM)
EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)
EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้ และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย ไม่ยุ่งยาก และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ






2 Random-Access Memory (RAM) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (แรม) 

- ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล
- ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย
- ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
- ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่องเพื่อใช้ในการประมวลผล
- เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
- สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
- การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม 


หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า แรม เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูล เพื่อสามารถเข้าถึงโดยตรงในการควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง โดยผ่านทางบัสข้อมูลภายนอกความเร็วสูง ชื่อแรมมักจะเรียกว่าหน่วยความจำอ่าน/บันทึกเพื่อเป็นการแบ่งแยกจากหน่วยความจำอ่านอย่างเดียวหรือรอม (ROM) ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งของหน่วยเก็บหลัก (primary storage) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ในแรมนี้เองที่หน่วยประมวลผลกลางสามารถบันทึกและอ่านข้อมูล โปรแกรมส่วนมากจะจัดส่วนของแรมไว้ต่างหากเพื่อเป็นเนื้อที่ทำงานชั่วคราวสำหรับข้อมูลของเรา เพื่อที่เราจะสามารถบันทึกทับใหม่ได้เท่าที่ต้องการจนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำไปพิมพ์หรือเก็บในหน่วยเก็บรอง (secondary storage) เช่น จานบันทึกแบบแข็งหรือแผ่นบันทึก ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในแรมจะหายไปได้เมื่อมีการปิดเครื่องหรือเมื่อกระแสไฟดับ ดังนั้นเราจึงต้องเก็บบันทึกงานที่ทำอยู่ตลอดเวลาและก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล




หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
 - จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์
 - เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป
 - จานแสง (Optical Disk)  เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้


หน่วยแสดงผล (Output Unit) คือ
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล แบ่งเป็น 2 แบบ 3

แสดงผลทางบนจอภาพ   การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640 * 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด



 แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ การแสดงผลทางจอภาพ หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer


ไปดูภาพส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์กันดีกว่า http://school.thaikidscom.com/index.php?option=com_content&view=article&id=828:2011-01-19-02-11-33&catid=63:2010-11-11-08-56-42